เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 63. จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานทุกะ 7. ปัญหาวาร
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐาน และจิตเป็นปัจจัย
แก่ขันธ์ 2 และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ 2 ฯลฯ ขันธ์ 1 ที่ระคน
กับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 2 และจิตโดยอัตถิปัจจัย
ขันธ์ 2 ฯลฯ (ในปฏิสนธิขณะ พึงเพิ่มเป็น 2 วาระ) (3)

1. ปัจจยานุโลม 2. สังขยาวาร
สุทธนัย

[309] เหตุปัจจัย มี 3 วาระ
อารัมมณปัจจัย มี 9 วาระ
อธิปติปัจจัย มี 9 วาระ
อนันตรปัจจัย มี 9 วาระ
สมนันตรปัจจัย มี 9 วาระ
สหชาตปัจจัย มี 9 วาระ
อัญญมัญญปัจจัย มี 9 วาระ
นิสสยปัจจัย มี 9 วาระ
อุปนิสสยปัจจัย มี 9 วาระ
ปุเรชาตปัจจัย มี 3 วาระ
ปัจฉาชาตปัจจัย มี 3 วาระ
อาเสวนปัจจัย มี 9 วาระ
กัมมปัจจัย มี 3 วาระ
วิปากปัจจัย มี 9 วาระ
อาหารปัจจัย มี 9 วาระ
อินทรียปัจจัย มี 9 วาระ
ฌานปัจจัย มี 3 วาระ
มัคคปัจจัย มี 3 วาระ
สัมปยุตตปัจจัย มี 5 วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :175 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 63. จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานทุกะ 7. ปัญหาวาร

วิปปยุตตปัจจัย มี 5 วาระ
อัตถิปัจจัย มี 9 วาระ
นัตถิปัจจัย มี 9 วาระ
วิคตปัจจัย มี 9 วาระ
อวิคตปัจจัย มี 9 วาระ

อนุโลม จบ

2. ปัจจนียุทธาร
[310] สภาวธรรมที่ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐานโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสย-
ปัจจัย และกัมมปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่
ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐานโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย
ปัจฉาชาตปัจจัย และกัมมปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่
ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐาน และที่ไม่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานโดยอารัมมณ-
ปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และกัมมปัจจัย (3)
[311] สภาวธรรมที่ไม่ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่ไม่ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐานโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย
อุปนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย อาหารปัจจัย และอินทรียปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่
ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐานโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย
และปุเรชาตปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ระคน
กับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐาน และที่ไม่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานโดยอารัมมณปัจจัย
สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และปุเรชาตปัจจัย (3)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :176 }